304852583_497669245695970_4074152811062466912_n
ถ้าไม่ใช่คนปลูกต้นไม้ จะมีแรงจูงใจอะไรในการซื้อเครื่องย่อยเศษอาหาร
“ มีหนอนอยู่ในถังหมัก ทำยังไงดีครับ “
previous arrow
next arrow

“อยากปลูกผักไว้กินเอง เริ่มยังไงดี”

          อันนี้เป็นคำถามแรกๆที่หลายคนมักจะสงสัย เป็นคำถามที่ถามง่าย แต่พอเริ่มหาคำตอบ มันดูยุ่งยากขึ้นเรื่อยๆ เพราะการปลูกผักมันมีหลายปัจจัย ตั้งแต่การเลือกชนิดผัก เรื่องดิน น้ำ แสงสว่าง โรค แมลง ฯลฯ แล้วพอรู้สึกยุ่งยาก หลายๆคนก็จะล้มเลิกความตั้งใจไปก่อนจะได้เริ่มลงมือ คำแนะนำแรกของแอดมินกับคำถามนี้คือ “กินอะไรก็ปลูกอันนั้นแหละ” ดูกำปั้นทุบดินเนาะ แต่ประเด็นของแอดมินคือ ต่อให้ปลูกผักงามแค่ไหน ถ้าเราไม่ได้กินก็คงไม่มีประโยชน์ เลยอยากให้คิดจากปัจจัยคือตัวเราเองก่อน เริ่มต้นจากวิธีกินของเราเอง ขอแยกง่ายๆเป็น 2 กลุ่มละกัน คือคนที่ทำกับข้าวกินเอง กับคนที่ไม่ได้ทำ กลุ่มแรกนี้ง่ายหน่อย เพราะผักสวนครัวที่เราเอามาทำกับข้าวมีเยอะแยะมากมาย เดี๋ยวจะคุยเรื่องการเลือกอีกทีว่าปลูกอะไรดี อีกกลุ่มนี่ยากนิดนึง เพราะถ้าไม่ทำกับข้าว ก็แปลว่าต้องปลูกผักที่ไว้กินสดได้ แบบว่า ซื้อข้าวตามสั่ง หรือซื้อกับข้าวถุงมา แล้วก็เก็บผักมากินเป็นเครื่องเคียง ประมาณนี้ . .           ต่อมา ปลูกอะไรดี ถ้าเป็นมือใหม่หัดปลูก แนะนำให้เริ่มจากต้นที่ปลูกง่ายๆก่อน จะได้มีกำลังใจในการปลูกต้นอื่นๆต่อ… Continue reading

“เรื่องเล่าของข้าวไรซ์เบอร์รี่นอกฤดู ปี 66”

          ย้อนไปเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ตอนที่แอดมินเริ่มวางแผนจะทำนาข้าวอย่างจริงจัง ตอนนั้นเริ่มคิดว่าเราจะปลูกข้าวอะไรนอกจากข้าวหอมมะลิอีกมั้ย เพราะหอมมะลิเป็นข้าวไวแสง ปลูกได้แค่ปีละครั้ง ระหว่างนั้นถ้าไม่ปลูกอะไร ที่นามันก็จะไม่ถูกใช้ประโยชน์ไปหลายเดือน แต่ครั้นจะปลูกข้าวหอมปทุม หรือข้าวนาปรังอื่นๆก็รู้สึกว่าไม่อยากทำ เพราะพอเราไม่ได้กิน ก็จะไม่อินกับการปลูกหรือการขาย สุดท้ายก็เลือกที่จะลองปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ เพราะเป็นข้าวที่เรากินเองแน่ๆ และเป็นไปตามแนวคิด “ปลูกของที่กิน กินของที่ปลูก”                หลังจากทำข้าวหอมมะลิปี 64/65 จบ แอดมินก็แบ่งที่มา 3 ไร่ ตัดสินใจว่าต่อไปแปลงนี้จะทำแต่ข้าวไรซ์เบอร์รี่เพื่อไม่ให้มีปัญหาข้าวปนกับพันธุ์อื่น ที่จริงข้าวไรซ์เบอร์รี่รอบปี 66 นี้ เป็นการลองปลูกครั้งที่ 2 แล้ว ครั้งแรกแอดมินลองปลูกช่วงนาปรังปี 65 แต่เกิดปัญหาสื่อสารผิดพลาด ทำให้มีการใช้เคมีกำจัดแมลงในแปลง รอบนั้นก็เลยตัดสินใจขายข้าวเปลือกให้โรงสีอื่นไปทั้งหมด ไม่ได้เก็บไว้ทำข้าวสารเลย พอช่วงฤดูทำนาปี 65/66 แปลงนี้ก็พักไป ไม่ได้ปลูกอะไร หลังจากเกี่ยวข้าวหอมมะลิแปลงอื่นๆเสร็จ ถึงได้เริ่มทำข้าวไรซ์เบอร์รี่ในแปลงนี้อีกรอบ… Continue reading

“เพาะกล้าผัก ยากหรือง่าย”

          เช้านี้เอารูปต้นอ่อนผักที่เพาะไว้มาอัพเดตให้เพื่อนๆดู หลังจากบ่มเมล็ดไว้ในทิชชู่ 3 วัน เมล็ดผักเริ่มงอก ก็จัดการย้ายลงถาดหลุม ผ่านมา 4 วัน ต้นอ่อนเริ่มมีทรงหน่อยแล้ว . .           ที่แอดมินบ่มเมล็ดในทิชชู่ไว้ก่อน จริงๆไม่ได้เกี่ยวว่าจะช่วยให้เมล็ดงอกดีขึ้น แต่มันช่วยให้แอดมินคัดเอาเฉพาะเมล็ดที่งอกย้ายลงถาดหลุมได้ เมล็ดไหนไม่งอกก็ทิ้งไป ไม่เสียเวลา ไม่เปลืองถาดหลุม           ส่วนปัจจัยที่ทำให้เมล็ดงอกยากหรือง่ายนั้น แอดมินว่าอยู่ที่คุณภาพของเมล็ดพันธุ์เป็นหลักเลย จำได้ว่าครั้งแรกที่เคยปลูกผักสลัดเมื่อหลายปีก่อน ซื้อเมล็ดซองๆมาปลูกแล้วมันไม่งอก ก็รู้สึกว่าเออ ปลูกยากจัง แต่พอเริ่มเข้าวงการจริงจัง เริ่มรู้จักแหล่งซื้อเมล็ดที่ไว้ใจได้ คราวนี้อัตรางอกคนละเรื่องเลย ทำให้แอดมินรู้ว่าคุณภาพของเมล็ดพันธุ์นี่แหละเป็นตัวสำคัญที่สุดในการเพาะกล้า . .           จากรูปที่แอดมินโพส มีกล้าผัก 3 อย่าง คือมะเขือเทศเชอรี่… Continue reading

” รวบรวมวิธีการกำจัดขยะเศษอาหารในบ้านฉบับแอดมินลุงเต่า “

โพสนี้แอดมินจะมาคุยแบบยาวๆเรื่องการกำจัดขยะเศษอาหารในบ้านนะ จริงๆเรื่องนี้เป็นปัญหาที่ส่งผลในทุกระดับ ตั้งแต่ในบ้าน ชุมชน ประเทศ ไปจนถึงเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมระดับโลกเลย แอดมินคงไม่พูดซ้ำแล้วล่ะว่าเป็นปัญหายังไง เพราะเคยพูดไปบ่อยมาก แต่วันนี้อยากจะชวนคุยถึงวิธีแก้ปัญหาที่ได้ผลดีที่สุด นั่นคือการกำจัดขยะเศษอาหารตั้งแต่ต้นทาง หรือก็คือในบ้านเราเอง อย่างที่เคยบอกไปว่ามันมีวิธีการหลากหลายมาก วันนี้แอดมินจะรวบรวม จัดกลุ่ม และอธิบายให้ทุกคนเข้าใจตั้งแต่ภาพรวม ไปจนถึงหลักการแต่ละแบบว่ามีความแตกต่างกันยังไง เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการตัดสินใจว่าบ้านเราควรจะเริ่มทำด้วยวิธีไหนดี ถ้าพร้อมจะอ่านแบบยาวๆแล้วก็มาเริ่มกันเลย ขั้นแรกเรามาทำความรู้จักขยะเศษอาหารกันก่อน ในครัวเรือนทั่วไปส่วนใหญ่จะมาจากการเตรียมวัตถุดิบทำอาหาร การปอกเปลือก ตัด หั่น ส่วนที่ไม่ต้องการออก กับอีกส่วนก็จะมาจากอาหารที่กินเหลือแล้ว ซึ่งถ้าบ้านไหนทำอาหารจะรู้ว่าขยะเหล่านี้มันเยอะมาก แทบจะเกินครึ่งของขยะทั้งหมดในบ้านเลย สำหรับองค์ประกอบของขยะเศษอาหารนั้น ประมาณ 80% คือความชื้น หรือน้ำ ส่วนอีก 20% จะเป็นสารประกอบอื่นๆ เช่น โปรตีน แป้ง ไขมัน เป็นต้น จริงๆแล้วถ้าเราวางขยะเศษอาหารกองเล็กๆไว้บนดิน พอผ่านไปหลายเดือนหน่อยขยะพวกนี้ก็จะย่อยสลายจนกลายเป็นดินได้เองโดยเราไม่ต้องทำอะไร นั่นเพราะความชื้นในขยะจะค่อยๆระเหยออกไป ส่วนสารประกอบที่เหลือก็จะถูกแบคทีเรีย ยีสต์ รา โปรโตซัว (ซึ่งแอดมินจะขอเรียกรวมๆว่า จุลินทรีย์) ในธรรมชาติ ที่มีอยู่ทั้งในอากาศและในดิน ทำการย่อยจนโครงสร้างมันเปลี่ยนไปกลายเป็นฮิวมัสและแร่ธาตุต่างๆ จุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายเศษอาหารก็แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม… Continue reading

” แปลงผักยกสูง “

แปลงผ้าใบปลูกผักยกสูงจากท่อ PVC แปลงยกสูงแบบนี้ทำงานสะดวกกว่าอยู่กับพื้นเพราะไม่ต้องก้มให้เมื่อย ตอบโจทย์บ้านพื้นปูน หรือบ้านที่มีน้องหมาพร้อมกระโดดไปช่วยขุดแปลงผัก Continue reading

“ มีหนอนอยู่ในถังหมัก ทำยังไงดีครับ “

ช่วงนี้แอดมินจะเจอคำถามนี้จากคนที่ได้ใช้ถัง Green Cone อยู่เรื่อยๆ ก็เลยมาโพสคำตอบลงเพจซะเลย เผื่อมีคนอื่นๆอยากรู้จะได้เป็นประโยชน์ด้วย หนอนที่มีโอกาสเจอในถังหมัก มีได้ทั้งหนอนแมลงหวี่ตัวเล็กๆ กับ หนอนแมลงวันลายตัวอวบอ้วน ซึ่งอย่างหลังนี่น่าจะทำให้หลายคนที่เจอรู้สึกผวาและทักมาถามว่าทำยังไงดี คำตอบของแอดมินก็คือ “ถ้าไม่รังเกียจขนาดอยู่ร่วมกันไม่ไหว ก็ปล่อยไว้แบบนั้นแหละครับ ดีแล้ว“ เพราะจริงๆแล้วหนอนแมลงวันลายนี้ มีประโยชน์อย่างมากในการกำจัดขยะอินทรีย์ มันกินขยะได้เร็วมากกว่าไส้เดือน 5 เท่า ช่วยให้ขยะเรายุบลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ในถังไม่มีกลิ่นด้วย และถึงแม้จะชื่อแมลงวันลาย แต่นิสัยไม่เหมือนแมลงวันบ้านเลย มันอาศัยอยู่กับต้นไม้ กินน้ำค้าง น้ำหวานเกสร ไม่มาวุ่นวายในบ้านเรา ไม่มาตอมอาหารเราเหมือนแมลงวันบ้าน เพราะงั้นถ้าไม่รังเกียจ ก็ลองอยู่ร่วมกันดูเนอะ เดี๋ยวแอดมินแปะลิงค์ข้อมูลเรื่องหนอนแมลงวันลายกำจัดขยะเศษอาหารให้ท้ายโพส แต่ถ้าดูแล้วอยู่ร่วมกันไม่ไหวจริงๆ แอดมินให้แนวทางแบบนี้ละกัน หลักๆก็คือต้องป้องกันไม่ให้แมลงหวี่หรือแมลงวันเข้าไปในถังได้ วิธีการประมาณนี้ กลบดินให้มิดตะกร้าด้านล่าง ถ้าดินเริ่มพร่องเมื่อไหร่ให้เอามาเติม เพื่อป้องกันไม่ให้กลิ่นเศษอาหารออกมา และกันไม่ให้แมลงวันเข้าไปในถังทางรูตะกร้า ระวังไม่ให้แมลงวันบินเข้าไปตอนเปิดฝา และปิดฝาให้สนิททุกครั้ง อาจใช้อะไรหนักๆทับฝาไว้ป้องกันลมพัดฝาเปิด ระวังอย่าให้ขยะเศษอาหารตกลงไปค้างในช่องระหว่างถังชั้นนอกกับชั้นใน เพราะขยะตรงนี้จะย่อยช้าและส่งกลิ่นเหม็นกว่าส่วนที่ทิ้งลงตะกร้าด้านล่าง ใช้ EM หรือน้ำหมักชีวภาพ ผสมน้ำเจือจาง รดลงไปในถังทุก 5-7 วัน เพื่อลดกลิ่นขยะ อาจใช้น้ำส้มควันไม้ หรือสมุนไพรไล่แมลง… Continue reading

การกำจัดขยะเศษอาหารในบ้าน ไม่เท่ากับการทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร

. ที่ตั้งหัวข้อโพสแบบนี้แอดมินไม่ได้มีปัญหาอะไรกับการทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารนะ เพราะจริงๆถ้าบ้านไหนทำได้คือดีมาก แต่โพสนี้แอดมินอยากจะบอกว่า ต่อให้ไม่ได้อยากทำปุ๋ยหมัก หรือต่อให้ไม่ได้ชอบการปลูกต้นไม้คุณก็ควรกำจัดขยะเศษอาหารตั้งแต่ในบ้านอยู่ดี . ทำไมถึงควรทำ . อันนี้ถ้าจะให้เห็นภาพคงต้องพูดถึงภาพรวมเกี่ยวกับปัญหาขยะในบ้านเรา เพื่อนๆเคยรู้มั้ยว่าปลายทางของขยะที่เรามัดถุงทิ้งลงถังหน้าบ้านคือที่ไหน อยากบอกว่าขยะส่วนใหญ่ถูกขนไป “เทกอง” ตามบ่อขยะต่างๆกว่า 2,000 จุดทั่วประเทศ ซึ่งปัญหาที่เราเห็นบ่อยๆคือเวลาฝนตกน้ำท่วม ขยะเหล่านั้นก็จะลอยออกมาและไหลไปสู่แหล่งน้ำ หรือให้ก็มีความร้อนสะสมในกองขยะจนเกิดไฟไหม้ ยังไม่นับปัญหาที่มองไม่เห็นด้วยตาเช่นการเกิดก๊าซเรือนกระจกที่ส่งผลต่อภาวะโลกรวนอีกด้วย . วิธีแก้ปัญหาที่ตรงตัวที่สุดก็คือการลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปทิ้ง และขยะเศษอาหารนี่แหละคือขยะที่มีปริมาณมากที่สุด และจัดการยากที่สุด ลองนึกภาพขยะ 1 ถังที่มีแต่ของแห้งๆ มันก็ง่ายกับรถซาเล้งหรือพนักงานเก็บขยะที่จะแยกของที่รีไซเคิลได้หรือขายได้ออกไปก่อน ยิ่งถ้าเราแยกประเภทไว้แล้วยิ่งดี ขยะที่จะถูกนำไปเทที่บ่อขยะก็จะลดลง แต่ถ้าถังนั้นมีเศษอาหารเปื้อนอยู่ โอกาสที่ขยะจะถูกนำไปรีไซเคิลก็จะน้อยมากเพราะต้องเสียเวลาทำความสะอาด ทำให้ขยะทั้งหมดถูกส่งไปเทที่บ่อขยะ ดังนั้นการแยกขยะตั้งแต่ในบ้าน โดยเฉพาะขยะเศษอาหาร จึงเป็นวิธีที่ทำได้ง่ายที่สุดและเห็นผลในการแก้ปัญหามากที่สุด . แยกเศษอาหารแล้วเอาไปไหน . ประเด็นนี้แหละคือสิ่งที่แอดมินอยากพูดถึง เรารู้แล้วว่าการนำขยะกลับไปใช้ประโยชน์ได้คือสิ่งที่ดีที่สุด แล้วขยะเศษอาหารจะทำประโยชน์อะไรได้ล่ะ สำหรับคนเมืองแบบแอดมิน การเอาเศษอาหารไปเป็นอาหารสัตว์คงเป็นไปได้ยาก เพราะเดี๋ยวนี้คงไม่มีใครเลี้ยงหมูอยู่ในบ้านซักเท่าไหร่ ถ้าหาข้อมูลเรื่องนี้ใน Google เชื่อว่าเกือบ 100% จะไปจบที่การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร ซึ่งนั่นคือการรีไซเคิลที่ดีที่สุด ทำเองได้ที่บ้าน และเกิดผลผลิตที่นำไปใช้ประโยชน์ได้เลย . ตรงนี้แหละที่เป็นปัญหา… Continue reading

ถ้าไม่ใช่คนปลูกต้นไม้ จะมีแรงจูงใจอะไรในการซื้อเครื่องย่อยเศษอาหาร

. อันนี้เป็นคำถามที่เพื่อนแอดมินถามมาตอนส่งข้อมูลเครื่องย่อยเศษอาหารของ Raakdin ไปให้ดู อาจเป็นเพราะเครื่องกำจัดขยะในบ้านเกือบทุกยี่ห้อมักโฆษณาว่าจะเปลี่ยนขยะเศษอาหารให้กลายเป็นปุ๋ยภายในเท่านั้นเท่านี้ชั่วโมง จนหลายคนมีภาพจำไปแล้วว่าเครื่องพวกนี้คือเครื่องผลิตปุ๋ยจากเศษอาหาร เรื่องนี้เป็นประเด็นที่แอดมินอยากเอามาคุยต่อเพราะอยากให้ทุกคนลองปรับเปลี่ยนความคิด . ถ้าไม่ได้ทำปุ๋ย แล้วจะใช้เครื่องย่อยเศษอาหารไปทำไม อันนี้อยากให้ลองดู 2 รูปนี้ก่อน รูปนึงคือขยะเศษอาหาร 1 วันที่บ้านแอดมิน ส่วนอีกรูปคือผลลัพธ์ที่ได้จากเครื่องย่อยเศษอาหารโดยเปิดเครื่องตอนกลางคืน ใช้เวลาย่อยประมาณ 8 ชั่วโมง ทุกคนเห็นอะไรจาก 2 รูปนี้บ้าง . บ้านที่ทำกับข้าวกินเองแบบแอดมิน จะมีขยะเศษอาหารแบบนี้เป็นประจำทุกวัน และขยะพวกนี้ก็ต้องมัดถุงเอาออกไปทิ้งทุกวัน ไม่งั้นมันก็จะส่งกลิ่นเหม็นอยู่ในครัวบ้านเรา แปลว่าเราส่งต่อขยะแบบนี้ไปสู่บ่อขยะทั้งหมด 7 ถุงต่อสัปดาห์ แต่ถ้าเราเอาขยะไปเข้าเครื่องย่อยเศษอาหารแล้วได้ผลลัพธ์ออกมาตามรูป ปริมาณขยะจะเหลือแค่ 10-15% แถมยังแห้ง เก็บไว้ก็ไม่เน่าไม่เสีย ถ้าเราสะสมไว้ 1 สัปดาห์แล้วค่อยเอาไปมัดถุงทิ้ง ปริมาณขยะจาก 7 ถุง เหลือแค่ 1 ถุง ลดการใช้ถุงพลาสติกไป 6 ชิ้น พนักงานเก็บขยะก็ทำงานง่าย เพราะขยะไม่เหม็นเน่า ไม่เลอะเทอะ บ่อขยะก็เต็มช้าลง 6 เท่า ลดปัญหาขยะล้นบ่อจนลอยออกสู่แหล่งน้ำ… Continue reading

Share this article